ข่าวเด่นวันนี้

ข่าวเด่นวันนี้// คนที่เกิด พ.ศ.๒๕๓๙ ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน และทหารกองเกินที่เกิด พ.ศ.๒๕๓๖ ให้ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกฯ ณ ที่่ว่าการอำเภอวังทรายพูน ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๕๖ (เว้นวันหยุดราชการ)..........

ประวัติหน่วย

การรับราชการทหารและประวัติความเป็นมา

                                ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าสงคราม “  เป็นระเบียบการของโลก เป็นประเพณีที่คู่ควร มากับโลกแต่ดึกดำบรรพ์ ไม่มีชาติใด ภาษาใดในโลกที่จะก่อร่างสร้างตัวเป็นปึกแผ่นแน่นหนา  โดยไม่ได้ผ่านการสงครามมา  หมู่ชนหรือชาติใดที่ได้รวบรวมกันขึ้นเป็นอาณาจักรอยู่อย่างอิสระ จำเป็นต้องหาวิธีป้องกันตนเอง และจัดหากำลังไว้สำหรับป้องกันประเทศชาติให้พ้นจากเงื้อมมือของเหล่าศัตรู ที่จะยกมาแย่งชิงอาณาเขตหรือทำลายความเป็นอิสระภาพของชนชาติตนให้เสื่อมสูญไป การกระทำเช่นนี้เป็นลักษณะและวิสัยของมนุษย์ทุกชาติที่ต้องการความเป็นไทแก่ตนเอง  ไม่ต้องการที่จะอยู่ในบังคับและถูกกดขี่บีบคั้นจากชนชาติอื่น ด้วยเหตุนี้การเกณฑ์คนมาเป็นทหาร เพื่อเป็นกำลังอำนาจให้ประเทศชาติในการที่จะป้องกันข้าศึกศัตรู จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

                ๑. การวางระเบียบการทหารของไทย
                         การวางระเบียบการทหารของไทย ได้ปรากฏชัดเจนในรัชสมัยของสมเด็จพระราเมศวร         
ราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)  ซึ่งได้ครองราชสมบัติต่อมาทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ “  ( .. ๑๙๙๑๒๐๓๑ได้ทรงจัดระเบียบการทหาร ไว้ดังนี้
                          ๑.๑ การตั้งทำเนียบยศ   หรือเรียกว่าทำเนียบศักดินาคือ  ตั้งอัตราไว้ในกฎหมายว่าบุคคลชั้นยศใด จะมีที่นาได้เท่าใด เช่นกำหนดว่า ไพร่พลเมืองคนหนึ่ง จะมีนาได้เพียง  ๑๐ ไร่เป็นอย่างมาก หรือเจ้าพระยาเสนาบดี มีที่นาได้  ๑๐,๐๐๐ ไร่ เป็นต้น
                                ๑.๒ การจัดทำเนียบหัวเมือง คือ จัดให้หัวเมืองเหนือ  ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาทำนองเดียวกับ หัวเมืองชั้นใน  บรรดาเมืองที่อยู่ห่างออกไปก็จัดเป็นเมืองพระยามหานครเช่น เมืองนครราชสีมา  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองตะนาวศรี  เมืองทะวาย  ให้มีผู้ว่าราชการมีอำนาจบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดเป็นเมือง ๆ ไป
                         ๑.๓ ตั้งทำเนียบหน้าที่กระทรวงทบวงกรม คือการแบ่งหน้าที่ราชการเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน  
                                 ๑..  ฝ่ายพลเรือน  ให้มีอัครมหาเสนาบดีที่สมุหนายกเป็นหัวหน้าราชการฝ่ายพลเรือน และเอาหัวหน้าพนักงานการพลเรือนที่มีประจำพระนครมาแต่ก่อนยกขึ้นเป็นเสนาบดีชั้นรองลงมาเรียกว่า   “ จัตุสดมภ์ “ ( เวียง  วัง  คลัง  นา )
                               ๑..     ฝ่ายทหาร   ให้มีอัครมหาเสนาบดีที่สมุหกลาโหม  เป็นหัวหน้าราชการทั้งปวงในฝ่ายทหาร มีเสนาบดีชั้นแม่ทัพประจำการรองลงไป
                       ๑.๔ แต่ข้าราชการไพร่พลทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนก็ยังคงเป็นทหารทำการรบพุ่ง ในเวลามีศึกสงครามอยู่เหมือนอย่างแต่เดิม และวิธีเกณฑ์คนก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนตลอดมา   เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จสวรรคตแล้ว  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นราชโอรสได้เสวยราชครองกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.. ๒๐๓๔  ถึง  .. ๒๐๗๒ รวมเป็นเวลา  ๓๘ ปี  พระองค์ได้ทรงจัดการอันเกี่ยวกับการทหารเพิ่มเติมจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างอันประเสริฐสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน คือ
                                           ๑..  การทำตำราพิชัยสงคราม
                                           ๑..  การสารบาญชี
                                           ๑..  การทำพิธีตามหัวเมือง
                                การทำสารบาญชี   คือ  การทำบัญชีรี้พล  จัดเป็นระเบียบวิธีเกณฑ์คนเข้ารับราชการทหารและพลเรือนให้สามารถเรียกเข้ากองทัพได้ทันท่วงที  จัดระเบียบการควบคุมผู้คนให้เป็น หมวด  กอง กรมต่าง ๆ  ซึ่งการทำสารบาญชีนี้  แต่ก่อน ๆ มา ฝ่ายกลาโหม  เป็นพนักงานทำบัญชีฝ่ายทหาร  ฝ่ายมหาดไทยเป็นพนักงาน   ทำบัญชีฝ่ายพลเรือน เป็นการแยกกันอยู่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้ง “ กรมพระสุรัสวดีขึ้นสำหรับเป็นพนักงานทำบัญชีพลทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน กรมพระสุรัสวดี  จึงได้อุบัติขึ้นแต่นั้นมา  และเป็นแบบแผนสืบมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
                                     การทำพิธีตามหัวเมืองหรือที่เรียกว่า การทำพิธีทุกหัวเมือง ข้อนี้ สมเด็จกรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า  “ คงเป็นการจัดระเบียบการกองทหารตามหัวเมือง  เนื่องด้วยการทำสารบาญชีที่ได้กล่าวและ    มีเค้าเงื่อนอยู่ในทำเนียบตำแหน่งกรมการหัวเมืองชั้นเดิม  คือ มีตำแหน่งสัสดี เป็นพนักงานกรมพระสุรัสวดี อยู่ประจำทุกเมือง  แต่ตำแหน่งขุนพล  ขุนมหาดไทย  มีแต่หัวเมือง  พระยามหานคร เมืองชั้นใน หามีไม่คงเป็นเพราะรี้คนพลเมืองชั้นในจัดระเบียบเข้ากองทัพหลวงในราชธานี แต่เมืองพระยามหานครนั้น ได้จัดระเบียบเป็นกองทัพต่างหาก ตามลักษณะที่กล่าวมาแล้วชั้นนี้จัดลงตำราให้รู้จำนวนพลและกระบวนทัพหัวเมืองได้ในราชธานีอยู่เสมอจึงเรียกว่าทำพิธีทั่วทุกเมือง
                                      กรมพระสุรัสวดี   ซึ่งอุบัติขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ มีหน้าที่รักษาทะเบียน หางว่าวบัญชีคุมไพร่พลทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนทุกหัวเมืองทั่วประเทศ  กรมนี้จึงเป็นกรมใหญ่  มีฐานะคล้ายกระทรวง  ควบคุมบัญชีกำลังพลทั่วประเทศ  กำกับทั้งฝ่ายกลาโหมและฝ่ายมหาดไทยในการจ่ายเลข      เพื่อนำคนมาเป็นทหาร  ผู้บังคับบัญชากรมขึ้นต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทะเบียนบัญชีจำนวนไพร่พล ของกรมกองต่าง ๆ  ต้องส่งให้กรมพระสุรัสวดีทราบ  และเป็นผู้รับผิดชอบในการเกณฑ์ไพร่พลเข้ากองทัพ   เมื่อต้องการกำลังพลเข้าทำการรบ   ในบางครั้งเจ้ากรมสุรัสวดี ก็ออกเป็น  แม่ทัพบัญชาการรบเอง ในตอนกลางสมัยกรุงศรีอยุธยารัฐบาลอนุญาตให้ไพร่พลเสียเงินค่าราชการแทนการเข้าเวร และกำหนดให้ไพร่ตามหัวเมืองส่งส่วยแก่รัฐบาล   ฉะนั้น  กรมพระสุรัสวดีจึงต้องรับหน้าที่ในเรื่องส่วยและเงินราชการเพิ่มขึ้นอีก
                   ๒.  การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
                       สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๔  ยังคงใช้วิธีการเกณฑ์กำลังทหาร และข้อกำหนดกฎหมายเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยายังมิได้ออกกฎหมายเป็นการเฉพาะ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างการปกครองและการจัดกองทัพแบบชาติยุโรปมาใช้เป็นครั้งแรก   โดยได้ตรากฎหมายและจัดตั้งกระทรวง  ทบวง  กรม  ที่เกี่ยวข้องกับการเกณฑ์กำลังทหาร  ดังต่อไปนี้
๒.๑ พ.. ๒๔๒๙  จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ  เป็นกรมบัญชาทหารทั่วไป “  ซึ่งกรม
สัสดีได้เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเรียกชื่อตามหน้าที่ที่กระทำ เช่น พนักงานตรวจสอบ พนักงานบาญชี และพนักงานรับส่งเลข  เป็นต้น  ซึ่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวขึ้นอยู่กับ   เจ้าพนักงานใหญ่
ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของ กรมพระสุรัสวดี  อีกชั้นหนึ่ง   แต่ยังคงดำเนินการเกี่ยวข้องอยู่กับกรมพระสุรัสวดี
                            ๒.๒  พ.. ๒๔๓๓ (..๑๐๙) ให้ตรา พ...ยกกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็น กระทรวง
ยุทธนาธิการ ซึ่งงานในหน้าที่สัสดี ขึ้นอยู่กับกรมยุทธนาธิการ ในตำแหน่ง หัวหน้าเวนบัญชี, หัวเวน จัดการพล, และ กองชำระคน เป็นต้น         
                            ๒.  .. ๒๔๓๕ (..๑๑๑จัดระเบียบกระทรวงเสนาบดีขึ้นใหม่ตั้งเป็น ๑๒ กระทรวงกำหนดหน้าที่กระทรวงกลาโหม   กระทรวงมหาดไทย และอื่นๆ    กรมพระสุรัสวดีไปรวมอยู่กับ  กระทรวงเมือง  กระทรวงยุทธนาธิการลดฐานะเป็นกรมยุทธนาธิการ งานในหน้าที่สัสดีขึ้นอยู่กับกรมยกกระบัตรใหญ่ทหารบก
                             ๒.๔ พ..๒๔๓๗ (..๑๑๓) ประกาศจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยขึ้นใหม่  ยกกรมพระสุรัสวดีไปขึ้นต่อกระทรวงกลาโหม ยุบเลิกงานในหน้าที่สัสดีที่ขี้นอยู่กับกรมยกกระบัตรทหารบกใหญ่  จัดตั้งพนักงานเวนบัญชีพล (งานสัสดี) ขึ้นใหม่ชื่อว่าเวนฝึกหัดจัด
การบาญชีพล “  เป็นหน่วยย่อยขึ้นต่อ กรมปลัดทหารบกใหญ่ในกรมยุทธนาธิการ ตั้งแต่ ๑  มกราคม ๒๔๓๘  (..๑๑๔งานในหน้าที่สัสดีจึงได้แยกเป็นหน่วยงานโดยเฉพาะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
                             ๒.๕ พ.. ๒๔๔๐ (..๑๑๖)   ยุบเลิกตำแหน่ง เวนฝึกหัดจัดการบาญชีพล จัดตั้งหน่วยงานใหม่ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น ชื่อว่าสมุหบาญชีใหญ่ขึ้นอยู่กับกรมยุธนาธิการและได้ตั้งตำแหน่ง ผู้ช่วยสมุหบาญชีใหญ่ ขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
                             ๒.๖ พ.. ๒๔๔๑ (..๑๑๗) จัดตั้งตำแหน่งนายทหารกองนอกไปประจำอยู่ที่ศาลากลางของมณฑลต่างๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับการทหารทั้งหมด  .. ๒๔๔๓  สมุหบาญชีใหญ่จัดช่างสักเลข ๑ คนไปประจำรับราชการอยู่กับนายทหารกองนอกและกำหนดให้นายทหารกองนอกเป็นเจ้าพนักงานทะเบียนทหารด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง
                             ๒.๗ พ.. ๒๔๔๖  (..๑๒๒) จัดตั้งข้อบังคับลักษณะเกณฑ์ทหาร ร..๑๒๒ ใช้สำหรับในหัวเมืองมณฑล  หน้าที่ในการเกณฑ์ทหารตกอยู่กับนายทหารกองนอก โดยเปลี่ยนชื่อเป็นข้าหลวงทหารบกประจำอยู่ ณ กองข้าหลวงทหารบกทั้ง ๗ มณฑล มีชื่อเรียกตามมณฑลที่สังกัด เช่น  ข้าหลวงทหารบก ประจำมณฑลกรุงเก่า เป็นต้น
                             ๒.๘ พ.. ๒๔๔๘ (.. ๑๒๔) จัดตั้งกรมเกียกกายทัพบก ขึ้นใหม่ขึ้นต่อกรม
ยุทธนาธิการและ เอาหน้าที่ สมุหบาญชีใหญ่   ไปเข้าไว้ในกรมเกียกกายทัพบกด้วย ในปีนี้ได้ตรา พ...ลักษณะเกณฑ์ทหาร   .. ๑๒๔ ขึ้น  และได้ประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักร เมื่อ พ.. ๒๔๕๙  
โดยได้จัดตั้ง  “ ผู้ช่วยข้าหลวงทหารบกประจำเมือง  “ ไปประจำในเขตมณฑลที่ประกาศใช้ พ...นี้  ในปีต่อ ๆ มา ได้จัดตั้งข้าหลวงทหารบกประจำมณฑล, ข้าหลวงทหารบกประจำเมือง และพนักงานทหารประจำอำเภอ ไปประจำอยู่ตามความจำเป็น
                              ๒.    .. ๒๔๕๐ (.. ๑๒๖ประกาศใช้ข้อบังคับการเรียกคนเข้ารับราชการทหารเป็น ตำรวจภูธร  .. ๑๒๖
                              ๒.๑๐  .. ๒๔๕๑ (.. ๑๒๗) ให้เปลี่ยนชื่อ กรมเกียกกายทัพบก และข้าหลวงทหารบก ดังนี้
                                          ๒.๑๐.    กรมเกียกกายทัพบก                         เปลี่ยนชื่อเป็น  กรมสัสดี
                                          ๒.๑๐.   ข้าหลวงทหารบกประจำมณฑล       เปลี่ยนชื่อเป็น  สัสดีมณฑล
                                          ๒.๑๐.   ผู้ช่วยข้าหลวงทหารบกประจำเมือง  เปลี่ยนชื่อเป็น  สัสดีเมือง
                                          ๒.๑๐.   พนักงานทหารประจำอำเภอ             เปลี่ยนชื่อเป็น สัสดีอำเภอ
                               ๒.๑๑  .. ๒๔๕๒ (..๑๒๘ยกเลิกกรมสัสดีที่ขึ้นต่อกรมยุทธนาธิการ  ให้ไปขึ้นต่อ   ” กรมปลัดทัพบก
                               ๒.๑๒ ..๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เลิกกรมยุทธ
นาธิการ จัดตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นแทน  ยกกรมทหารเรือ เป็นกระทรวงทหารเรือ ยุบเลิกกรมสุรัสวดี เพราะมีกรมสัสดีตั้งขึ้นแทนแล้ว   ต่อมา กรมปลัดทัพบก ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ปลัดกลาโหม กรมสัสดี จึงได้ขึ้นต่อ ปลัดกระทรวงกลาโหม
                                ๒.๑๓ พ.. ๒๔๕๙ กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศ เปลี่ยนชื่อ เมือง เป็นจังหวัด กระทรวงกลาโหมจึงได้ออกคำสั่งให้เปลี่ยน กองสัสดีเมือง เป็น กองสัสดีจังหวัด ตำแหน่ง สัสดีเมืองเป็นสัสดีจังหวัด
                                ๒.๑๔  .. ๒๔๖๐ ได้ตรา พ...ลักษณะเกณฑ์ทหาร พ..๒๔๖๐ และให้ยกเลิก พ..บ.ลักษณะเกณฑ์ทหาร ร..๑๒๔ , ..๑๒๗ เสีย
                                ๒.๑๕  .. ๒๔๖๖ ตรา พ...ลักษณะเกณฑ์ทหารเพิ่มเติม พ.. ๒๔๖๖
                                ๒.๑๖  .. ๒๔๗๐ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ให้ยุบเลิก      กองสัสดีมณฑลต่าง ๆ  ให้ตั้งกองการสัสดีภาคขึ้นใหม่ ๓ กอง  มีสัสดีภาคเป็นประธานขึ้นต่อเจ้ากรมสัสดี
                                           ๒.๑๖.  กองสัสดีที่ภาค ๑  ตั้งประจำอยู่ที่จังหวัดพระนคร มีกองสัสดี
จังหวัด ภาคกลางและภาคตะวันออกอยู่ในบังคับบัญชา ๑๗ จังหวัด
                                            ๒.๑๖.  กองสัสดีภาคที่     ตั้งประจำอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีกองสัสดีจังหวัดภาคเหนืออยู่ในบังคับบัญชา  ๒๑  จังหวัด
                                             ๒.๑๖.๓ กองสัสดีภาคที่ ๓   ตั้งประจำอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มีกองสัสดีจังหวัดอยู่ในบังคับบัญชา ๑๓  จังหวัด
                                ๒.๑๗  .. ๒๔๗๕ ให้ยุบเลิก กองสัสดีภาคที่ ๒ และภาคที่ ๓  ตั้งเป็นกองสัสดีภาคที่  ๒ แทน  ตั้งประจำอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มีกองสัสดีจังหวัดภาคเหนือและภาคอีสานอยู่ในบังคับบัญชา    ๒๓ จังหวัดและได้ตรา พ...ลักษณะเกณฑ์ทหาร พ..๒๔๗๕ ใช้บังคับ ยกเลิก พ...ลักษณะเกณฑ์ทหาร พ.. ๒๔๖๐ เสีย
                                ๒.๑๘  .. ๒๔๗๖ ยุบเลิก กองสัสดีภาค โดยให้กองสัสดีจังหวัดขึ้นตรงต่อเจ้ากรมสัสดี
                                ๒.๑๙  .. ๒๔๗๙ ตรา พ...รับราชการทหาร พ..๒๔๗๙ ยกเลิก พ...
ลักษณะเกณฑ์ทหาร พ..๒๔๗๕ และ พ.. ๒๔๗๖
                                ๒.๒๐  .. ๒๔๘๑ ยุบกรมสัสดีคงเหลือไว้เพียงแผนกขึ้นอยู่กับกรมเสมียนตรา
กระทรวงกลาโหม  เรียกว่า แผนกที่ ๔ กรมเสมียนตรา (แผนกสัสดี) ให้เปลี่ยนชื่อกองสัสดีจังหวัด เป็นหน่วยสัสดีจังหวัด    หน่วยสัสดีจังหวัดในเขตมณฑลทหารบกให้ขึ้นตรงต่อมณฑลทหารบก   หน่วยสัสดีในเขตจังหวัดทหารเรือให้ขึ้น อยู่กับกองทัพเรือ
                                ๒.๒๑  ..๒๔๘๒ กระทรวงกลาโหมได้ออกบังคับทหารว่าด้วยหน้าที่สัสดี  ..๒๔๘๒   แบ่งหน้าที่สัสดี  ออกเป็น ส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค
                                             ๒.๒๑.  ส่วนกลาง      ได้แก่  แผนก ๔ กรมเสมียนตรา
                                             ๒.๒๑.๒ ส่วนภูมิภาค   ได้แก่  หน่วยสัสดีมณฑลทหารบก มณฑลทหารเรือ หน่วยสัสดีจังหวัด หน่วยสัสดีอำเภอ หรือหน่วยสัสดีกิ่งอำเภอ
                                ๒.๒๒  .. ๒๔๙๕ กองทัพบกแปรสภาพ แผนกกลางกรมเสนาธิการทหารบก เป็น กรมสารบรรณทหารบก และแผนก ๑ กรมเสนาธิการบก เป็น กรมการกำลังพลทหารบก
                                ๒.๒๓  .. ๒๔๙๖ ให้แผนก ๑ กรมเสนาธิการทหารบก (กรมการกำลังพลทหารบก)  เป็นกองสัสดี  กรมสารบรรณทหารบก  และให้แผนก  ๔ กรมเสมียนตรา เป็น กองการสัสดีกรมเสมียนตรา
                                ๒.๒๔  .. ๒๔๙๗ ตรา พ... รับราชการทหาร พ.. ๒๔๙๗  ยกเลิก พ...
รับราชการทหาร พ.. ๒๔๗๙  เพิ่มอัตรา หน่วยสัสดีกองทัพภาค ๓ กองทัพภาค ,สัสดีมณฑลทหารบก หน่วยสัสดีจังหวัดทหารบกลพบุรี หน่วยสัสดีจังหวัด และเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอต่างๆ
                                ๒.๒๕ พ.. ๒๔๙๘  ได้ออกข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการกำหนดหน้าที่สัสดี พ..๒๔๙๘  แบ่งกิจการหน้าที่สัสดีออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
                                            ๒.๒๕.  ส่วนกลาง   ได้แก่   กองการสัสดีกรมเสมียนตรา  และกองการสัสดี กรมสารบรรณทหารบก
                                            ๒.๒๕.๒ ส่วนภูมิภาค  ได้แก่  หน่วยสัสดีกองทัพภาค  หน่วยสัสดีมณฑลทหารบก      หน่วยสัสดีจังหวัดทหารบก และหน่วยสัสดีจังหวัด
                                ๒.๒๖  ..๒๕๐๙ ได้ออกข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการกำหนดหน้าที่สัสดี พ..๒๕๐๙ ยกเลิกข้อบังคับกระทรวงกลาโหม พ..๒๔๙๘    แบ่งกิจการในหน้าที่สัสดีออกเป็น กองการกรมเสมียนตรากองการสัสดีกรมสารบรรณทหารบก   ฝ่ายการสัสดีกองทัพภาค   ฝ่ายการสัสดีมณฑลทหารบก   ฝ่ายการสัสดีจังหวัดทหารบกลพบุรี   ฝ่ายการสัสดีจังหวัดทหารบก  แผนกสัสดีจังหวัด  หน่วยสัสดีอำเภอ และหน่วยสัสดีกิ่งอำเภอ (ฝ่ายการสัสดีจังหวัดทหารบก ได้เพิ่มอัตราให้ในจังหวัดทหารบกที่มิได้เป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกตั้งแต่ พ.. ๒๕๑๐ สำหรับจังหวัดทหารบกที่เป็น
ที่ตั้งของมณฑลทหารบกให้ ผช.สัสดีมณฑลทหารบก ทำหน้าที่)
                                ๒.๒๗ ออกข้อบังคับกระทรวงกลาโหม พ.. ๒๕๑๒ ว่าด้วยการกำหนดหน้าที่
สัสดี พ..๒๕๑๒ ยกเลิกข้อบังคับกระทรวงกลาโหม พ.. ๒๕๐๙  โดยเพิ่มกิจการในหน้าที่แผนกสัสดีกองทะเบียนพล  กรมกำลังพลทหารเรือ  และแผนกสัสดี  กองแผนการกำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศขึ้นมาอีก
                                ๒.๒๘  .. ๒๕๑๓ กองทัพบก ได้จัดตั้ง กรมการกำลังสำรองทหารบก ขึ้นใหม่ ให้โอนกองการสัสดี กรมสารบรรณทหารบก ไปขึ้นต่อ กรมการกำลังสำรองทหารบก ต่อมาเมื่อ ๑๐ พ.ค.๔๔ ได้แปรสภาพเป็น กองการสัสดี หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง และต่อมาเมื่อ ๒๑ เม.ย.๕๒ ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน จนถึงปัจจุบัน

                                                       --------------------------------------------